หน่วยส่งออกหน่วยความจำและหน่วยเก็บ



หน่วยส่งออก (Output Unit)
         หน่วยแสดงผล (Output Unit) มีหน้าที่ในการแสดงผลข้อมูล ที่ผ่านการประมวลผลในรูปของ ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว หรือ เสียง เป็นต้น อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการแสดงผลได้แก่ จอภาพ (Monitor) สำหรับแสดงตัวอักษรและรูปภาพ เครื่องพิมพ์ (Printer) สำหรับพิมพ์ข้อมูลที่อยู่ในเครื่องออกทางกระดาษพิมพ์ ลำโพง (Speaker) แสดงเสียงเพลงและคำพูด เป็นต้น


1. จอภาพ (Monitor) ทำหน้าที่สื่อข้อมูลให้เราเห็นอย่างรวดเร็วแสดงข้อความ อักษรและกราฟฟิกที่สร้างจากการ์ดแสดงผลโดยทำหน้าที่แปลงคำสั่งที่ได้จาก หน่วยประมวลผลกลาง ให้อยู่ในรูปของสัญญาณที่จอภาพเข้าใจ


       












2. เครื่องพิมพ์ (Printer)  คืออุปกรณ์ที่รับสัญญาณตรงจากเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อทำงานออกมาเป็นข้อความ ภาพ ลงบนกระดาษหรือวัตถุอื่นประเภทเดียวกันโดยทั่วไปจะมี 4 ประเภท

                     2.1 เครื่องพิมพ์แบบจุด (Dot Printer)
                     2.2 เครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึก (Laser Printer)

                     2.3 เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ (Inkjet Printer) 
                     2.4 เครื่องพิมพ์แบบวาด (Plotter Printer)




3. ลำโพง (Speaker) เป็นอุปกรณ์แสดงเสียงโดยการแปลงสัญญาณไฟฟ้าที่ได้จากการ์ดเสียง/ซาวน์การ์ด (Sound Card) ให้เกิดเป็นพลังงานเสียงขึ้นมา



หน่วยความจำ (Memory Unit)  
       หน่วยความจำ (Memory Unit) มีหน้าที่ในการจำข้อมูล ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ มีอยู่ 2 ชนิดคือ หน่วยความจำชั่วคราว (RAM : Random Access Memory) หน่วยความจำประเภทนี้จะจำข้อมูลได้เฉพาะช่วงที่มีการเปิดไฟเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้นส่วนหน่วยความจำอีกประเภทหนึ่งคือ หน่วยความถาวร (ROM : Read Only Memory) เป็นหน่วยความจำที่สามารถจำข้อมูลได้ตลอดเวลา

1.หน่วยความจำแรม (RAM: Random Access Memory) เรียกว่าหน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม เมื่อเปิดเครื่องขึ้นมาข้อมูลจะถูกอ่านและย้ายมาเก็บไว้ที่แรมก่อนซึ่งข้อมูลอยู่ในรูปของชิพ (Chip) หลายๆตัวเรียงกันอยู่บนแผงวงจรเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถเขียนข้อมูลทับได้ตลอดเวลาบางครั้งเรียกว่า หน่วยความจำชั่วคราว เพราะข้อมูลของแรมจะสูญหายไปเมื่อเราปิดเครื่องคอมพิวเตอร์เนื่องจากแรมเก็บข้อมูลในรูปของอิเล็คทรอนิกส์ ข้อมูลถูกเลี้ยงด้วยกระแสไฟฟ้า การที่มีหน่วยความจำมากจะทำให้การทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วยิ่งขึ้น





ลักษณะร่องบากบริเวณแนวขาสัญญาณ 2 ร่อง และมีจำนวนขาทั้งสิ้น 168 ขา ปัจจุบันหมดความนิยมไปแล้ว จะพบได้ก็แต่เพียงในคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าเท่านั้น







ลักษณะมีร่องบากบริเวณแนวขาสัญญาณ 1 ร่องและมีจำนวนขาทั้งสิ้น 184 ขา แรมชนิดนี้ปัจจุบันกำลังจะตกรุ่น





ลักษณะมีร่องบากบริเวณแนวขาสัญญาณ 1 ร่อง และมีจำนวนขาทั้งสิ้น 240 ขา สำหรับแรมชนิดนี้ปัจจุบันกำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก จนคาดว่าในอีกไม่ช้าจะเข้ามาแทนที่มาตรฐานเดิมคือ DDR และ SDRAM ในที่สุด







หน่วยความจำ DDR3 มีความเร็วสูงขึ้น ใช้แรงดันไฟฟ้าและกินไฟน้อยลง นอกจากนั้นยังปรับปรุงประสิทธิภาพเรื่องความร้อนให้ดีขึ้นด้วย





2. หน่วยความจำรอม (ROM: Read Only Memory) เรียกว่า หน่วยความจำอ่านอย่างเดียว เป็นหน่วยความจำชนิดที่เก็บข้อมูลหรือโปรแกรมไว้อย่างถาวร ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้สิ่งที่เก็บไว้เป็นข้อมูลที่จำป็นสำหรับการเริ่มต้นเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์และคำสั่งขั้นพื้นฐานต่าง ๆเรียกว่า ไบออส (BIOS) ซึ่งย่อมาจาก Basic Input / Output System คำสั่งขั้นพื้นฐานเหล่านี้หมายถึงโปรแกรมที่ติดตั้งมากับเครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง เมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมเหล่านี้ก็จะไม่ถูกลบออกไป


3. หน่วยความจำแคช (Cache memory) หมายถึงส่วนหนึ่งของหน่วยความจำที่ถูกกันไว้เก็บข้อมูล อยู่ในหน่วยประมวลผลกลางช่วยให้คอมพิวเตอร์ดึงข้อมูลมาประมวลผลได้เร็วยิ่งขึ้น โดยเป็นตัวกลางระหว่างหน่วยความจำหลักกับหน่วยความจำสำรอง แคชแบ่งออกเป็นแคชภายในแลพแคชภายนอก มีลักษณะเป็นชิพ อยู่บนแผงวงจรหลักหรือที่เรียกว่า เมนบอร์ด (Mainboard)



หน่วยเก็บ (Storage Unit)
        หรือเรียกว่า หน่วยความจำสำรอง (Storage Unit) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลไว้ใช้ในโอกาสต่อไป เนื่องจากหน่วยความจำแรม จำข้อมูลได้เฉพาะช่วงที่มีการเปิดไฟเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น ถ้าต้องการเก็บข้อมูลไว้ใช้ในโอกาสต่อไป จะต้องบันทึกข้อมูลลงในหน่วยความจำสำรอง ซึ่งหน่วยความจำสำรองมีอยู่หลายชนิดด้วยกันแต่ที่นิยมใช้กันทั่วไปคือ ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk) แผ่นซีดี (CD : Compact Disk) แผ่นดิจิทัลอเนกประสงค์ (DVD : Digital Versatile Disk) ทัมบ์ไดรฟ์ (Thumb Drive) เป็นต้น

กระบวนการในการจัดเก็บข้อมูลเรียกว่าการเขียนข้อมูลหรือการบันทึกข้อมูล อุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลแต่ละประเภทแบ่งออกได้ ดังนี้

1. จานแม่เหล็ก (Magnetic disk) เป็นหน่วยเก็บที่สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก และมีคุณสมบัติในการเข้าถึงข้อมูลโดยตรง (Direct access) ไม่จำเป็นต้องอ่านข้อมูลไปตามลำดับเหมือนเทป จานแม่เหล็กจะต้องใช้คู่กับ ตัวขับจานแม่เหล็ก หรือ ดิสก์ไดร์ฟ (Disk drive) ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำหรับอ่านและเขียนข้อมูลจานแม่เหล็ก



2. เทปแม่เหล็ก (Magnetic tape) เป็นหน่วยเก็บข้อมูลที่ใช้กันมานาน ปัจจุบันได้รับความนิยมน้อยลง เทปแม่เหล็กมีหลักการทำงานคล้ายเทปบันทึกเสียง แต่เปลี่ยนจากการเล่น (Play) และบันทึก (Record ) เป็นการอ่าน (Read) และเขียน (Write) แทน การอ่านข้อมูลเป็นไปในลักษณะของการเข้าถึงข้อมูลตามลำดับ (Sequential access) การทำงานลักษณะนี้จึงทำให้อ่านข้อมูลได้ช้า เนื่องจากต้องอ่านข้อมูลในม้วนเทปไปเรื่อย ๆ จนถึงตำแหน่งที่ต้องการ



3. อุปกรณ์สำรองข้อมูลอื่น ๆ

3.1 ยูเอสบีแฟลชไดรฟ์ (USB flash drive) / (USB: Universal Serial Bus) เป็นส่วนเชื่อมต่อที่ได้รับความนิยม และเป็นมาตรฐานที่ใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน อุปกรณ์ที่เป็นแบบ USB จะสนับสนุนการถอดหรือเปลี่ยนอุปกรณ์โดยไม่ต้องปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อน (Hot Swapping) รวมทั้งสนับสนุนการใช้งานแบบเสียบแล้วใช้ได้ทันที (Plug and Play)


3.2 อุปกรณ์พีซีการ์ด (Personal Computer Card) เป็นเทคโนโลยีซึ่งเกิดจากมาตรฐาน PCMCIA (The Personal Computer Memory Card International Association) ซึ่ง เป็นมาตรฐานในการออกแบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์สำหรับอุปกรณ์ที่มีขนาดเท่ากับนามบัตร โดยอุปกรณ์ดังกล่าวอาจเป็นได้ทั้งอุปกรณ์หน่วยความจำ ตลอดจนอุปกรณ์รับหรือแสดงผลต่าง อุปกรณ์คอมพิวเตอร์แบบพีซีการ์ดจะใช้พลังงานน้อย ทนทานต่อการใช้งาน มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา ทำให้มีความเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ที่ใช้พลังงานจาก แบตเตอรี่ และต้องการพกพา นอกจากนี้ อุปกรณ์พีซีการ์ดยังมีการนำไปประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวางกับอุปกรณ์ประเภท ต่าง ๆ เช่น กล้องดิจิทัล อุปกรณ์บันทึกข้อมูล ตลอดจนโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นต้น



-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------








บทความที่อ่านล่าสุด