3.1 วิศวกรคอมพิวเตอร์ คือบุคคลที่ทำหน้าที่ออกแบบส่วนประกอบที่เป็นชิ้นส่วนของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ชนิดต่าง ๆทั้งหมดเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และวงจรไฟฟ้า
3.2 วิศวกรระบบ คือบุคคลที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์และระบบต่าง ๆ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานกับผู้ใช้เครื่อง รวมทั้งการแก้ไขปัญหาของเครื่องคอมพิวเตอร์
3.3 นักวิเคราะห์ระบบ คือบุคคลที่ทำหน้าที่ศึกษาในหน่วยงานต่าง ๆเพื่อนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ เพื่อรวบรวมความต้องการของหน่วยงานตลอดจนปัญหาในระบบงานต่าง ๆ หาแนวทางแก้ไข นักวิเคราะห์ระบบจะทำหน้าที่ประสานงานกับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ หัวหน้าหน่วยงาน นักโปรแกรมและผู้ที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ
3.4 นักโปรแกรมระบบ คือบุคคลที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมในระบบคอมพิวเตอร์ โดยจะทำหน้าที่ในการจัดสรรและแจกจ่ายงานให้กับลูกทีมเพื่อช่วยกันระดมในการเขียนโปรแกรมในส่วนย่อยและนำมารวมกับโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพสามารถนำไปใช้งานได้
3.5 นักโปรแกรมคอมพิวเตอร์ คือบุคคลที่มีหน้าที่เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ทำงานด้านต่าง ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายตามที่นักวิเคราะห์ระบบได้ทำไว้ การเขียนชุดคำสั่งจะเขียนเป็นภาษาอะไรขึ้นอยู่กับประเภทของงาน
3.6 พนักงานเตรียมข้อมูล คือบุคคลที่ทำหน้าที่บันทึกข้อมูลในอุปกรณ์ต่าง ๆที่คอมพิวเตอร์สามารถรับเข้าไปทำงานได้
3.7 พนักงานควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ คือบุคคลที่ควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องทำงานอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่สำคัญคือนำโปรแกรมและข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ เตรียมอุปกรณ์ที่ใช้กับงานต่าง ๆ หรือนำงานจากผู้ใช้คอมพิวเตอร์มาให้กับผู้ใช้ข้อมูล ตลอดจนสังเกตความผิดปกติของคอมพิวเตอร์
3.8 บรรณาธิการคอมพิวเตอร์ คือบุคคลที่ทำหน้าที่ดูแลรักษาอุปกรณ์ บันทึกข้อมูล โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หนังสือเอกสารต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ดูแลโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตลอดจนแฟ้มข้อมูลที่ใช้งานประเภทต่าง ๆ มาจัดเก็บให้เป็นระบบมากยิ่งขึ้น
ข้อมูล (Data) หมายถึงข้อเท็จจริงหรือสิ่งที่ยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริงสำหรับใช้เป็นหลักอนุมานหาความจริงข้อมูลเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในระบบคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งที่ต้องป้อนเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์พร้อมกับโปรแกรมที่เขียนขึ้น เพื่อให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลและผลิตผลลัพธ์ออกมา ดังนั้นข้อมูลที่นำเข้าจะต้องมีความถูกต้องสมบูรณ์จึงจะได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องสมบูรณ์ตามที่ต้องการออกมาได้ จนเกิดเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ ซึ่งถือว่าเป็นข่าวสารที่มีประโยชน์หรือเรียกว่า สารสนเทศ (Information)นั่นเอง
สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข่าวสารที่ได้จากการนำข้อมูลมาคำนวณทางสถิติโดยการประมวลผลอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่อยู่ในรูปที่สามารถนำมาใช้งานได้ทันที
ข้อมูลที่ได้รับการประมวลผลแล้วยังสามารถนำไปประมวลผลได้อีกและก่อให้เกิดเป็นข่าวสารในรูปแบบใหม่ เช่น คะแนนการสอบของนักเรียนแต่ละคนซึ่งเรียกว่า ข้อมูล เมื่อนำเข้าสู่กระบวนการประมวลผล (การตัดเกรด) ย่อมทำให้เกิดเป็นข่าวสาร หรือสารสนเทศที่มีความหมายสามารถนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ได้
ประเภทของข้อมูล ข้อมูลที่สามารถนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ได้นั้นแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้
1. ข้อมูลตัวเลข (Numeric Data) เป็นข้อมูลที่เป็นระบบเลขฐาน 10 เช่น 0-9
ข้อมูลที่ได้รับการประมวลผลแล้วยังสามารถนำไปประมวลผลได้อีกและก่อให้เกิดเป็นข่าวสารในรูปแบบใหม่ เช่น คะแนนการสอบของนักเรียนแต่ละคนซึ่งเรียกว่า ข้อมูล เมื่อนำเข้าสู่กระบวนการประมวลผล (การตัดเกรด) ย่อมทำให้เกิดเป็นข่าวสาร หรือสารสนเทศที่มีความหมายสามารถนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ได้
ประเภทของข้อมูล ข้อมูลที่สามารถนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ได้นั้นแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้
1. ข้อมูลตัวเลข (Numeric Data) เป็นข้อมูลที่เป็นระบบเลขฐาน 10 เช่น 0-9
2. ข้อมูลตัวอักษร (Text Data) เป็นข้อมูลที่เป็นตัวอักขระ (Character)
3. ข้อมูลเสียง (Audio Data) เป็นข้อมูลที่เป็นสัญญาณแอนะล็อก เช่นเสียงจากไมโครโฟนที่ต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์
4. ข้อมูลภาพ (Images Data) เป็นข้อมูลที่นำเข้าจากเครื่องตรวจกราด/สแกนเนอร์ หรือการถ่ายภาพผ่านกล้องดิจิทัล
5. ข้อมูลภาพเคลื่อนไหว (Video Data) เป็นข้อมูลที่นำเข้าจากกล้องวีดิทัศน์ดิจิทัล
หน่วยการวัดขนาดข้อมูล
ในการบอกปริมาณหรือขนาดความจุของสิ่งของจะต้องมีหน่วยที่ใช้ในการบอกปริมาณ ในระบบคอมพิวเตอร์เองก็มีหน่วยที่ใช้ในการวัดขนาด หรือความจุของข้อมูลเช่นเดียวกัน โดยหน่วยการวัดเรียงลำดับจากน้อยที่สุดไปหามากที่สุด ดังนี้
บิต (Bit) เป็นหน่วยวัดขนาดเล็กสุด โดยแต่ละบิตจะถูกแสดงด้วยตังเลขไบนารี (Binary Digits) คือ “0” หรือ “1” ซึ่งบ่งบอกถึงสถานการณ์ทำงานนั่นเอง
บิต (Bit) เป็นหน่วยวัดขนาดเล็กสุด โดยแต่ละบิตจะถูกแสดงด้วยตังเลขไบนารี (Binary Digits) คือ “0” หรือ “1” ซึ่งบ่งบอกถึงสถานการณ์ทำงานนั่นเอง
ไบต์ (Byte) เป็นหน่วยวัดพื้นฐานที่พบเห็นได้โดยทั่วไป โดย 1 ไบต์จะมีขนาด 8 บิต ใช้แทนตัวอักษรใดๆ เช่นตัวเลข อักขระหรือสัญลักษณ์ต่างๆได้ 1 ตัว
กิโลไบต์ (Kilobyte อักษร ย่อคือ KB) จะมีค่าเท่ากับ 1,024ไบต์ (210) หรือประมาณ 1,000ไบต์ เทียบเท่ากับตัวอักษรประมาณ 1,000 ตัว หรือประมาณ 1 หน้ากระดาษ
เมกกะไบต์ (Megabyte อักษรย่อคือ MB) มีค่าเท่ากับ 1,024 กิโลไบต์ หรือประมาณ 1 ล้านไบต์ เทียบเท่ากับตัวอักษรประมาณ 1 ล้านตัว หรือประมาณหนังสือ 1 เล่ม
กิกะไบต์ (Gigabyte อักษรย่อคือ GB) เป็นหน่วยวัดที่มักจะใช้บอกความจุข้อมูลของอุปกรณ์จำพวก ฮาร์ดดิสก์, แผ่นดีวีดี, และอื่นๆ มีค่าเท่ากับ 1,024 เมกกะไบต์ หรือประมาณ 1,000 ล้านไบต์ เทียบเท่ากับตัวอักษรประมาณ 1,000 ล้านตัว หรือประมาณหนังสือที่บรรจุอยู่ในตู้จำนวน 1 ตู้
เทอราไบต์ (Terabyte อักษรย่อคือ TB) เป็นหน่วยวัดที่มีขนาดใหญ่มาก ซึ่งในปัจจุบันมีอุปกรณ์เพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้นที่มีความจุขนาดนี้ แต่ด้วยปริมาณความต้องการข้อมูลที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆจึงมีแนวโน้มว่าอีกไม่นานความจุระดับจะเป็นที่ต้องการของผู้ใช้ในอนาคต ซึ่ง 1 เทอราไบต์ มีค่าเท่ากับ 1,024 กิกะไบต์ หรือประมาณ 1 ล้านล้านไบต์ ซึ่งเทียบเท่ากับตัวอักษรประมาณ 1,000 ล้านล้านตัว หรือประมาณหนังสือทั้งหมดที่บรรจุอยู่ในห้องสมุดขนาดใหญ่ 1 ห้อง
เมกกะไบต์ (Megabyte อักษรย่อคือ MB) มีค่าเท่ากับ 1,024 กิโลไบต์ หรือประมาณ 1 ล้านไบต์ เทียบเท่ากับตัวอักษรประมาณ 1 ล้านตัว หรือประมาณหนังสือ 1 เล่ม
กิกะไบต์ (Gigabyte อักษรย่อคือ GB) เป็นหน่วยวัดที่มักจะใช้บอกความจุข้อมูลของอุปกรณ์จำพวก ฮาร์ดดิสก์, แผ่นดีวีดี, และอื่นๆ มีค่าเท่ากับ 1,024 เมกกะไบต์ หรือประมาณ 1,000 ล้านไบต์ เทียบเท่ากับตัวอักษรประมาณ 1,000 ล้านตัว หรือประมาณหนังสือที่บรรจุอยู่ในตู้จำนวน 1 ตู้
เทอราไบต์ (Terabyte อักษรย่อคือ TB) เป็นหน่วยวัดที่มีขนาดใหญ่มาก ซึ่งในปัจจุบันมีอุปกรณ์เพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้นที่มีความจุขนาดนี้ แต่ด้วยปริมาณความต้องการข้อมูลที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆจึงมีแนวโน้มว่าอีกไม่นานความจุระดับจะเป็นที่ต้องการของผู้ใช้ในอนาคต ซึ่ง 1 เทอราไบต์ มีค่าเท่ากับ 1,024 กิกะไบต์ หรือประมาณ 1 ล้านล้านไบต์ ซึ่งเทียบเท่ากับตัวอักษรประมาณ 1,000 ล้านล้านตัว หรือประมาณหนังสือทั้งหมดที่บรรจุอยู่ในห้องสมุดขนาดใหญ่ 1 ห้อง
ลักษณะของข้อมูลที่ดี มีดังนี้
1. ความถูกต้องแม่นยำ ข้อมูลที่มีความถูกต้องจะก่อให้เกิดการน่าเชื่อถือของข้อมูลและตรงตามจุดประสงค์มากที่สุด ความถูกต้องนับเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกในกระบวนการประมวลผลข้อมูล
2. ความสมบูรณ์ ข้อมูลที่มีความถูกต้องเพียงอย่างเดียวอาจไม่พอสำหรับความต้องการในการประมวลผลในแต่ละครั้ง ข้อมูลที่จะนำมาประมวลผลควรมีความสมบูรณ์ครบถ้วนทั้งรายการและจำนวน
3. ความรวดเร็วในการประมวลผลและทันสมัย เวลาที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล เป็นตัวชี้วัดความทันสมัยและคุณค่าของข้อมูล ข้อมูลที่ดีต้องใช้เวลาในการประมวลผลน้อยที่สุด และพร้อมใช้งานได้ทันที
4. ความเข้ากันได้กับเครื่องมือประมวลผล ข้อมูลที่นำเข้าสู่ขั้นตอนการประมวลผลต้องเข้ากันได้กับเครื่องมือและควรเป็นข้อมูลที่เป็นตัวอักษรหรือตัวเลข
5. มีความสัมพันธ์กันและกระชับรัดกุม ข้อมูลสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมในสถานการณ์ปัจจุบันและต้องถูกย่นย่อให้มีความยาวพอเหมาะ
กระบวนงาน (Procedure) หมายถึง กระบวนการหลักที่ระบบคอมพิวเตอร์สามารถทำได้ ได้แก่
1. ความถูกต้องแม่นยำ ข้อมูลที่มีความถูกต้องจะก่อให้เกิดการน่าเชื่อถือของข้อมูลและตรงตามจุดประสงค์มากที่สุด ความถูกต้องนับเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกในกระบวนการประมวลผลข้อมูล
2. ความสมบูรณ์ ข้อมูลที่มีความถูกต้องเพียงอย่างเดียวอาจไม่พอสำหรับความต้องการในการประมวลผลในแต่ละครั้ง ข้อมูลที่จะนำมาประมวลผลควรมีความสมบูรณ์ครบถ้วนทั้งรายการและจำนวน
3. ความรวดเร็วในการประมวลผลและทันสมัย เวลาที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล เป็นตัวชี้วัดความทันสมัยและคุณค่าของข้อมูล ข้อมูลที่ดีต้องใช้เวลาในการประมวลผลน้อยที่สุด และพร้อมใช้งานได้ทันที
4. ความเข้ากันได้กับเครื่องมือประมวลผล ข้อมูลที่นำเข้าสู่ขั้นตอนการประมวลผลต้องเข้ากันได้กับเครื่องมือและควรเป็นข้อมูลที่เป็นตัวอักษรหรือตัวเลข
5. มีความสัมพันธ์กันและกระชับรัดกุม ข้อมูลสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมในสถานการณ์ปัจจุบันและต้องถูกย่นย่อให้มีความยาวพอเหมาะ
กระบวนงาน (Procedure) หมายถึง กระบวนการหลักที่ระบบคอมพิวเตอร์สามารถทำได้ ได้แก่
1. การประมวลผล (Process)
2. การสร้างความน่าเชื่อถือ (Reliability)
3. การพัฒนา (Development)
กระบวนงาน เป็นขั้นตอนที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์จะต้องทำตาม เพื่อให้ได้งานเฉพาะอย่างจากคอมพิวเตอร์ เช่น การฝาก-ถอนเงินอัตโนมัติจากเครื่องรับจ่ายเงินอัตโนมัติ ดังลำดับขั้นตอน ดังนี้
1. จอภาพแสดงข้อความและพร้อมทำงาน
กระบวนงาน เป็นขั้นตอนที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์จะต้องทำตาม เพื่อให้ได้งานเฉพาะอย่างจากคอมพิวเตอร์ เช่น การฝาก-ถอนเงินอัตโนมัติจากเครื่องรับจ่ายเงินอัตโนมัติ ดังลำดับขั้นตอน ดังนี้
1. จอภาพแสดงข้อความและพร้อมทำงาน
2. ผู้ใช้สอดบัตรและพิมพ์รหัสผู้ใช้
3. เลือกทำรายการต่าง ๆ
4. ใส่จำนวนเงินที่ต้องการ แล้วกดปุ่ม
5. รับเงิน
6. รับใบบันทึกรายการและบัตร
การใช้งานคอมพิวเตอร์ผู้ใช้ทุกคนต้องรู้กระบวนการทำงานขั้นพื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อที่จะให้ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ทำงานประสานกันได้เป็นอย่างดี การปฏิบัติงานในขั้นตอนต่าง ๆ คอมพิวเตอร์จะมีการทำงานที่ซับซ้อนและเกี่ยวข้องกับเวลา ในการปฏิบัติงานผู้ใช้คอมพิวเตอร์ควรปฏิบัติตามระเบียบหรือปฏิบัติตามขั้นตอนของกระบวนงานอย่างเคร่งครัด
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------