ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System) หมายถึง กลุ่มขององค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ ที่มีความสัมพันธ์กันและทำงานร่วมกัน ซึ่งระบบคอมพิวเตอร์มีองค์ประกอบที่สำคัญ 5 ส่วน คือ
1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
2. ซอฟต์แวร์ (Software)
3. บุคลากร (People ware)
4. ข้อมูล (Data)
5. กระบวนงาน (Procedure)
ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ แบ่งออกเป็น 5 หน่วย คือ
1. หน่วยประมวลผลกลาง (CPU: Central Processing Unit)
หน่วยประมวลผลกลางหรือมักจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าไมโครโปรเซสเซอร์ ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งหมด โดยนำข้อมูลจากอุปกรณ์รับข้อมูลมาทำการประมวลผลข้อมูลตามคำสั่งของโปรแกรมและส่งผลลัพธ์ที่ได้ออกทางหน่วยแสดงผล
หน่วยประมวลผลกลางหรือมักจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าไมโครโปรเซสเซอร์ ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งหมด โดยนำข้อมูลจากอุปกรณ์รับข้อมูลมาทำการประมวลผลข้อมูลตามคำสั่งของโปรแกรมและส่งผลลัพธ์ที่ได้ออกทางหน่วยแสดงผล
2. หน่วยรับเข้า (Input Unit)
หน่วยรับเข้า (Input Unit) หมายถึง กระบวนการในการป้อนข้อมูล คำสั่ง โปรแกรมเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ตลอดจนการโต้ตอบของผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์โดยการใช้อุปกรณ์ที่สามารถป้อนข้อมูลและคำสั่งเข้สู่เครื่องคอมพิวเตอร์ได้ หน่วยรับเข้าสามารถแบ่งได้เป็น 5 ประเภทตามลักษณะการทำงาน ดังนี้
2.1 อุปกรณ์แบบกดหน่วยรับเข้า (Input Unit) หมายถึง กระบวนการในการป้อนข้อมูล คำสั่ง โปรแกรมเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ตลอดจนการโต้ตอบของผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์โดยการใช้อุปกรณ์ที่สามารถป้อนข้อมูลและคำสั่งเข้สู่เครื่องคอมพิวเตอร์ได้ หน่วยรับเข้าสามารถแบ่งได้เป็น 5 ประเภทตามลักษณะการทำงาน ดังนี้
2.2 อุปกรณ์ชี้ตำแหน่งและวาดรูป
2.3 อุปกรณ์การตรวจข้อมูล
2.4 อุปกรณ์รับข้อมูลประเภทภาพและเสียง
2.5 อุปกรณ์รับและแปลงสัญญาณ
2.1 อุปกรณ์แบบกด
1. แผงแป้นอักขระ (Keyboard) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลที่นิยมใช้ทั่วไปส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แต่ในปัจจุบันได้มีการออกแบบที่หลากหลายเพื่อความสวยงาม แผงแป้นอักขระประกอบด้วยปุ่มจำนวนมาตรฐาน คือ 104 ปุ่ม ส่วนใหญ่จะมีแป้นตัวเลขแยกไว้ต่างหากเพื่อทำให้การป้อนข้อมูลตัวเลขทำได้ง่ายและสะดวกขึ้น ในปัจจุบันจะมีจำนวนของปุ่มเพิ่มมากขึ้น
2.2 อุปกรณ์ชี้ตำแหน่งและวาดรูป
1. เมาส์ (Mouse) เป็นอุปกรณ์ชี้ตำแหน่งบนจอภาพสามารถติดต่อกับผู้ใช้โดยการใช้รูปภาพประสานการทำงานกับผู้ใช้แทนคำสั่ง มีการใช้งานโดยการเลือกรายการหรือคำสั่งด้วยภาพหรือสัญรูป (icon) เมาส์เป็นอุปกรณ์ที่ให้ความรู้สึกที่ดีต่อการใช้งานช่วยให้การใช้งานง่ายขึ้นด้วยการใช้เมาส์เลื่อนตัวชี้ไปยังตำแหน่งต่าง ๆ บนจอภาพ โดยทั่วไปเมาส์แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ
แบบทางกลหรือแบบลูกกลิ้ง (Mechanical mouse) เป็นเมาส์ที่ใช้ลูกกลิ้งกลม มีน้ำหนักและแรงเสียดทานพอดี ติดอยู่ทางใต้ของเมาส์ ซึ่งเมื่อเลื่อนเมาส์ไปในทางทิศใด ลูกกลิ้งก็จะเคลื่อนที่ไปในทิศทางนั้นด้วย ซึ่งตัวลูกกลิ้งนี้เองที่เป็นส่วนสำคัญของเมาส์ประเภทนี้ ลูกกลิ้งจะต้องออกแบบให้กลิ้งได้ง่าย และสามารถควบคุมความเร็ว ได้อย่างต่อเนื่อง
แบบใช้เแสง (Optical mouse ) เป็นเมาส์ ที่ใช้ระบบแสงอินฟาเรดในการสั่งการให้ตัวชี้ที่หน้าจอเคลื่อนที่ โดยอาศัยหลักการของแสงสะท้อนจากเมาส์ลงไปบนแผ่นรองเมาส์ (mouse pad)
สำหรับปุ่มกดบนเมาส์แต่ละชนิดก็จะมีความแตกต่างกัน เมาส์ ที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนใหญ่จะมี 2 ปุ่ม ซึ่งโดยทั่วไปปุ่มทางซ้ายใช้เพื่อยืนยันการเลือกรายการและปุ่มทางขวาเป็นการยกเลิกรายการ หรือดูรายละเอียดการใช้ ปัจจุบันยังมีการติดตั้งลูกกลิ้งด้านบนของเมาส์เพื่อใช้ช่วยในการเลื่อนหน้าจอขึ้นลงให้เร็วขึ้นอีกด้วย
2. ลูกกลมควบคุม (Track ball) เป็นอุปกรณ์ชี้ตำแหน่งคล้ายกับเมาส์ ลักษณะเป็นลูกบอลเล็ก ๆ ซึ่งอาจวางอยู่หน้าจอภาพในเนื้อที่ของแป้นพิมพ์ หรือเป็นอุปกรณ์ต่างหากเช่นเดียวกับเมาส์ เมื่อผู้ใช้หมุนลูกบอลก็จะเป็นการเลื่อนตำแหน่งของตัวชี้ตำแหน่งบนจอภาพ มีหลักการทำงานเช่นเดียวกับเมาส์
3. แท่งชี้ควบคุม (Track point) มีลักษณะเป็นแท่งพลาสติกที่ส่วนยอดหุ้มด้วยยางโผล่ขึ้นมาตรงกลางในแผงแป้นอักขระของเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา เช่น Notebook Computer ผู้ใช้สามารถใช้อุปกรณ์ชนิดนี้ควบคุมการเคลื่อนที่ของตัวชี้บนจอภาพโดยการโยกแท่งชี้ควบคุมไปในทิศทางที่ต้องการ
4. แผ่นสัมผัส (Touch pad) มีลักษณะเป็นแผ่นพลาสติกที่ไวต่อการสัมผัส อยู่ตรงหน้าแผงแป้นอักขระของเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา เป็นอุปกรณ์ที่นิยมติดตั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา เนื่องจากใช้งานง่าย ผู้ใช้สามารถใช้อุปกรณ์ชนิดนี้ควบคุมการเคลื่อนที่ของตัวชี้บนจอภาพ โดยการแตะสัมผัสไปแผ่นรองสัมผัสและสามารถคลิกหรือดับเบิ้ลคลิก เพื่อเลือกรายการหรือสัญรูปได้
5. ก้านควบคุม (Joystick) ก้านควบคุมหรือมักเรียกว่าจอยสติ๊ก เป็นอุปกรณ์รับเข้าที่ทำหน้าที่คล้ายกับเมาส์เพื่อกำหนดการเคลื่อนที่ของตัวชี้ตำแหน่งบนจอภาพ โดยลักษณะของก้านควบคุมจะคล้ายกล่องที่มีก้านโผล่ออกมา และก้านนั้นสามารถบิดขึ้น ลง ซ้าย ขวาได้ การเคลื่อนที่ของก้านควบคุมเป็นการกำหนดทิศทางการเคลื่อนที่ของตัวชี้ตำแหน่งอุปกรณ์ชนิดนี้มักนิยมใช้ในการเล่นเกมคอมพิวเตอร์หรือควบคุมหุ่นยนต์
6. ระบบปากกา (Pen-based System)หรือปากกาแสง (Light Pen) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สัมผัสกับจอภาพโดยแตะปากกาแสงไปบนจอภาพตามตำแหน่งที่ต้องการเพื่อใช้ชี้ตำแหน่งและวาดข้อมูล นิยมใช้กับงานคอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับการออกแบบ รวมทั้งนิยมใช้เป็นอุปกรณ์ป้อนข้อมูล โดยการเขียนด้วยมือในคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก
7. อุปกรณ์รับเข้าแบบจอภาพสัมผัส (Touch screen Monitor) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ป้อนข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์ โดยการใช้นิ้วแตะบนจอตามภาพหรือรายการที่จัดเตรียมไว้ในการสั่งให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลและแสดงผลออกมาในปัจจุบันได้พัฒนามาใช้กับโทรศัพท์แบบพกพาจนเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย
2.3 อุปกรณ์การตรวจข้อมูล เป็นอุปกรณ์เพื่อใช้บันทึกข้อความ ภาพวาด หรือสัญลักษณ์พิเศษต่างๆเพื่อนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์โดยมีหลักการทำงาน คือ อุปกรณ์จะทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปของสัญญาณดิจิทัลที่สามารถนำไปประมวลผลและแสดงผลทางจอภาพได้ ที่ใช้กันในปัจจุบันมี ดังนี้
2.3.1 เครื่องกราดตรวจ (Scanner) เป็นอุปกรณ์ที่สามารถจับภาพหรือข้อความทั้งหน้าโดยทำการแปลงข้อความหรือรูปภาพจากต้นฉบับให้ไปอยู่ในรูปของข้อมูลดิจิทัลซึ่งสามารถจัดเก็บด้วยระบบคอมพิวเตอร์ได้
2.3.2 เครื่องอ่านรหัสแท่ง (Bar code reader) หรือบาร์โค้ด ประกอบด้วยเส้นตรงแนวตั้งและช่องว่างที่ทีขนาดแตกต่างกันไป มักใช้พิมพ์หรือติดไว้บนผลิตภัณฑ์ ส่วนเครื่องอ่านก็จะใช้รูปแบบของแสงจากเส้นบาร์โค้ดเพื่อจำแนกประเภทของสิ่งของประเภทของบาร์โค้ดมีหลายชนิดแตกต่างกันออกไป
2.4 อุปกรณ์รับข้อมูลประเภทภาพและเสียง
2.4.1 อุปกรณ์รับข้อมูลประเภทเสียงพูดหรือไมโครโฟน เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลประเภทเสียงพูด ได้แก่ ไมโครโฟน (Microphone)
2.4.2 กล้องดิจิทัล (Digital camera) ลักษณะคล้ายกล้องถ่ายรูปโดยทั่วไปแต่ใช้เทคโนโลยีบันทึกข้อมูลดิจิทัลบนแผ่นดิสก์หรือในหน่วยความจำ แทนการเก็บรูปภาพในรูปแบบของฟิล์ม
2.4.3 อุปกรณ์รับข้อมูลจากวีดิทัศน์ (Video input) ข้อมูลจากวีดิทัศน์หรือวีดีโอสามารถบันทึกเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์โดยใช้กล้องวีดิทัศน์ดิจิทัล (Digital video camera) ซึ่งมีลักษณะการทำงานคล้ายกับกล้องดิจิทัลแต่กล้องวีดิทัศน์ดิจิทัลสามารถบันทึกภาพที่ต่อเนื่องกันได้ นอกจากนี้ยังสามารถตัดต่อภาพจากข้อมูลที่ถ่ายด้วยกล้องวีดีโอปกติเพื่อแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปของดิจิทัลเพื่อให้นำไปใช้กับระบบคอมพิวเตอร์ได้
2.5 อุปกรณ์รับและแปลงสัญญาณ
โมเด็ม (Modems) มาจากคำว่า (Modulate Demodulate) โมเด็มทำหน้าที่แปลงสัญญาณคอมพิวเตอร์จากสัญญาณดิจิทัลเป็นสัญญาณแอนะล็อกผ่านสายโทรศัพท์เมื่อถึงปลายทางก็จะแปลงสัญญาณแอนะล็อกเป็นสัญญาณดิจิทัลเพื่อเข้าสู่คอมพิวเตอร์อีกครั้งหนึ่ง
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------